วัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้ผู้อำนวยการสถานศึกษาที่มีศักยภาพ มีภาวะผู้นำ มีความสามารถรอบด้าน “เก่งคน เก่งงาน และเก่งวิชาการ” เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา มีความภาคภูมิและองอาจในฐานะที่เป็นกลไก สำคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในระดับถสานศึกษา
- กำหนดให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง(เปลี่ยนตำแหน่ง) ต้องได้รับการประเมิน ในระยะ 1 ปี
- เมื่อผู้อำนวยการสถานศึกษาไปปฏิบัติงานที่สถานศึกษาแล้ว เป็นระยะเวลา 15 วันต้องจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนให้ครอบคลุมภารกิจและนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ สพฐ. โดยจัดทำเป็นข้อตกลงการปฏิบัติงาน (Performance Agreement)เพื่อที่จะนำไปสู่การประเมินสัมฤทธิผลการปฏิบัติงาน ในระยะเวลา 1 ปี
- สพป./แจ้งองค์ประกอบ ตัวชี้วัด คะแนนการประเมินและวิธีการประเมินสัมฤทธิผลการปฏิบัติงานในรอบ 1 ปี ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบและถือปฏิบัติ
- สพป.แต่งตั้งคณะกรรมการปรึกษา พี่เลี้ยง (Coaching Team) ให้มีหน้าที่ จำนวน 3 ท่าน วางแผนการปฏิบัติหน้าที่ตามคู่มือหรือแนวทางที่ สพฐ.และหน่วยงานต้นสังกัดกำหนด ให้คำปรึกษาแนะนำผู้อำนวยการสถานศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการศึกษา บริบทของโรงเรียน การจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษา การจัดทำข้อตกลงในการปฏิบัติงาน แนะนำผู้อำนวยการสถานศึกษาในการปฏิบัติงานครอบคลุมภารกิจทั้ง 4 ด้าน ในการปฏิบัติงาน 1 ปี โดยวิธีการหลากหลาย ภาคเรียนละ 2 ครั้ง ปีละ 4 ครั้ง
- สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดศรีสะเกษแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินสัมฤทธิผลการปฏิบัติงาน (Evaluation Team) ในรอบ 1 ปี อีก 3 ท่าน (ประเมิน 6 เดือน/ ครั้ง จำนวน 2 ครั้ง)
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กำหนดแนวทางจัดประชุม,ส่งเสริมสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง เสนอรายงานผลการนิเทศ ให้คำปรึกษา ผลการประเมินสัมฤทธิผลให้ ศธจ.ทราบ
- เสนอขอกำหนดตำแหน่งทดแทนหรือเปลี่ยนตำแหน่งกรณีที่ผู้อำนวยการสถานศึกษาไม่ผ่านการประเมิน
กุลจิรา ไตรภูมิ กลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
ใส่ความเห็น