ดำเนินการตามหนังสือสำนัก ก.พ.ที่ นร 1013/ว6 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2561 และ ที่ นร 1013/ว18 ลว.26 กันยายน 2562 เป็นทักษะทั่วไป จำนวน 4 องค์ประกอบ
องค์ประกอบหลัก คือความสามารถ และองค์ประกอบเสริม คือความรู้ ประสบการณ์ และคุณลักษณะ
กำหนดทักษะที่ควรส่งเสริมและพัฒนา 5 มิติการเรียนรู้ 7 กลุ่มทักษะ ดังนี้
มิติที่ 1 รู้เท่าทันและใช้เทคโนโลยีเป็น ประกอบด้วย 1 กลุ่มทักษะด้านความรู้ความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
มิติที่ 2 เข้าใจนโยบาย กฎหมายและมาตรฐาน ประกอบด้วย 1 กลุ่มทักษะด้านการควบคุมกำกับ และการปฏิบัติตามกฎหมาย นโยบาย และมาตรฐานการจัดการด้านดิจิทัล
มิติที่ 3 ใช้ดิจิทัลเพื่อการประยุกต์และพัฒนา ประกอบด้วย 2 กลุ่มทักษะด้านความรู้ ความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
มิติที่ 4 ใช้ดิจิทัลเพื่อการวางแผน บริหารจัดการและนำองค์กร ประกอบด้วย 2 กลุ่มทักษะด้านการจัดการโครงการและการบริหารกลยุทธ์ และกลุ่มทักษะด้านผู้นำดิจิทัล
มิติที่ 5 ใช้ดิจิทัลเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงและสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 1 กลุ่มทักษะด้านการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล
กลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) Management (M) ผู้อำนวยการกอง 2) Academic (A) ผู้ทำงานด้านนโยบายและวิชาการ 3) Swrvice (S) ผู้ทำงานด้านบริการ และ 4) Technology (T) ผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
ทิศทางการดำเนินงาน มี 3 ระยะ ได้แก่ ระยะเริ่มต้น ระยะกำลังพัฒนา และระยะพัฒนาแล้ว ประเด็นการพัฒนาในระยะเริ่มต้น ทุกกลุ่มเป้าหมายต้องมีพื้นฐานการพัฒนา ดังมิติการเรียนรู้ มิติที่ 1 รู้เท่าทันและใช้เทคโนโลยี 9 ด้าน1) การใช้งานคอมพิวเตอร์ 2) การใช้งานอินเทอร์เน็ต 3) การใช้งานเพื่อความมั่นคงปลอดภัย 4) การใช้โปรแกรมประมวลคำ5) การใช้โปรแกรมตารางคำนวณ 6) การใช้โปรแกรมการนำเสนองาน 7) การใช้โปรแกรมสร้างสื่อดิจิทัล 8) การทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ และ 9) การใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย มิติการเรียนรู้ที่ 2 เข้าใจนโยบาย กฏหมายและมาตรฐาน
รูปแบบการฝึกอบรม 70:20:10 (เต็มส่วน 100%) โดยพัฒนาตนเอง เช่น ผ่าน ONLINE 70 : เรียนรู้จากการแนะนำ 20 : และฝึกปฏิบัติ 10
แนวทางการขับเคลื่อน โดยให้เขตพื้นที่การศึกษากำหนดแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ดังนี้ส่งเสริม สนับสนุน จัดเตรียมงบประมาณ สร้างบรรยากาศการทำงานในรูปแบบดิจิทัล อุปกรณ์และเครื่องมือดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดวางแนวทางการดำเนินงานเพื่อพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลกำกับ ติดตามผลการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและ รายงาน ก.ค.ศ.ทราบ
สรุปผลการดำเนินงาน ท่านว่าที่ร้อยตรีทวีศักดิ์ นามศรี ผู้อำนวยการ สพป.ศรีสะเกษ เขต 1 ได้แต่งตั้งคณะทำงานที่มีศักยภาพ พัฒนาระบบการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการครูในสังกัด (ทีม DSD4T SSK1) นำโดยท่านกิตติศักดิ์ มครนันท์ ผอ.บ้านไทยบวกแต้ บวกเตย ท่านอัครพงศ์ ศิรวงศืสกุล ผอ.ร.ร.บ้านบก และคณะผลิตสื่อบรมออนไลน์จำนวน 10 หลักสูตร ตามมิติที่ 1และมิติที่ 2เปิดระบบให้เข้าเรียนออนไลน์ในวันที่ 20 มิถุนายน 2563
นางกุลจิรา ไตรภูมิ / กลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
ใส่ความเห็น